ข้อแนะนำ
1. กรณีท่อประปาใหม่ควรเปิดน้ำไล่สิ่งตกค้างในท่อประปา เช่น เศษทราย เศษเอสล่อน เศษไม้ เศษปูนที่เกิดจากการก่อสร้างก่อนติดตั้งก๊อกน้ำ ฝักบัว ฯลฯ เพราะสิ่งตกค้างจะอุดตันก๊อกน้ำ, ฝักบัว ฯลฯ ทำให้น้ำไม่ไหลหรือรั่วได้
2. หลีกเลี่ยงการขัดถูโดยใยขัดโลหะและสัมผัสสารเคมีที่ฤทธิ์รุนแรง เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ, น้ำยาล้างปูน ฯลฯ เพราะอาจทำให้ผิวเคลือบสึกกร่อน เป็นคราบดำ และเกิดคราบฝังแน่นบนพื้นผิวได้
3. การติดตั้งก๊อกอ่างล้างหน้า ก๊อกซิงค์แบบยืนขึ้นจากอ่าง และสายฉีดชำระ ควรติดตั้งวาล์วเพิ่ม เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งาน ปรับแรงดันให้เหมาะสมกับการใช้งาน และสะดวกในการซ่อมบำรุง
4. การหมุนเกลียวของหัวฝักบัว หรือหัวฉีดชำระเข้ากับสายไม่จำเป็นต้องใช้เทปพันเกลียว ใช้เพียงประเก็นยางที่ให้มาหมุนให้สุดพอตึงมือ หากยังไม่แน่นให้เพิ่มประเก็นยาง หรือหากยังมีการรั่วซึมตามเกลียว สามารถใช้เทปพันประมาณ 4-5 รอบ
5. การติดตั้งระหว่างก่อสร้าง อาจทำให้ผิวชำรุด เนื่องจากสารเคมี จากสารระเหยต่างๆ ในการทาสี และน้ำปูนควรห่อสินค้าด้วยฟิล์มหลังติดตั้งทันที
6. บ้านอยู่อาศัย 2 ชั้น พื้นที่ประมาณ 25-100 ตารางวา ควรมีแรงดันน้ำไม่เกิน 3.0 Kg/cm² เพราะแรงดันน้ำที่สูงเกิน เวลาฉีดถูกผิวอาจทำให้เจ็บได้ (ปั๊มน้ำขนาด 250 watts ติดตั้งห่างก๊อกน้ำ 6 เมตร แรงดันน้ำอยู่ที่ 3.0 kg/cm² โดยประมาณ)
คำเตือน
1. หากมีการรั่วซึมควรหาสาเหตุ ถ้าเกิดชำรุดจากการใช้งานจนหมดอายุ ควรได้รับการซ่อมแซม หรือได้รับการเปลี่ยนโดยทันที
2. หากไม่มีใครอยู่บ้านเลย ก่อนออกจากบ้านควรปิดระบบปั๊มน้ำ ปิดระบบวาล์วน้ำใหญ่ เพื่อความปลอดภัย
3. สินค้าบางชนิดอาจมีความแหลมคม ขณะหยิบจับต้องระมัดระวัง เพราะอาจบาดผิวได้ ตลอดจนการติดตั้งจะต้องมั่นใจว่าไม่เกิดความแหลมคมและไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้
4. ก๊อกน้ำ, วาล์วน้ำ, ฝักบัว, สายชำระต่างๆ ควรใช้กับแรงดันน้ำที่เหมาะสมเท่านั้น แรงดันน้ำไม่ควรเกิน 3.0 Kg/cm²
5. การทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ควรเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เหมาะสมกับประเภทของผลิตภัณฑ์และหลังจากที่ทำความสะอาดเสร็จแล้วควรรีบล้างน้ำออกให้สะอาดโดยเร็ว